รู้ทัน!! โรค LD (บกพร่องการเรียนรู้)

รู้ทัน!!  กลยุทธรับมือ

โรค LD (บกพร่องการเรียนรู้) 



เด็ก LD 

หมายถึง เด็กที่กพร่องทางการเรียนรู้ เนื่องจากมีความผิด
ปกติของระบบประสาทชนิดถาวร ทำให้สมองถูกจำกัดความ
สามารถในการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ หรือการจดจำ และ
อาจพบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ถึงร้อยละ 40-50 เช่น 
โรคสมาธิสั้น (ADHD) 

พ่อแม่อาจสังเกตสัญญาณของความผิดปกติจากการที่เด็กไม่
สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดได้นาน มีปัญหาในการพูด การอ่าน 
การเขียน การคำนวณ ส่งผลให้อาจมีทักษะในการเรียนรู้ด้อย
กว่าเด็กในวัยเดียวกัน 

ทั้งนี้ ความเอาใจใส่ของคนใกล้ชิดและการรักษาด้วยวิธีที่
เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยให้ผู้ป่วยเด็ก LD พัฒนาทักษะ
ทางด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น
ในสังคมได้เหมือนเด็กปกติ


อาการของเด็ก LD


กลุ่มอาการ บกพร่องทางการเรียนรู้ แบ่งเป็นหลาย

ชนิดตามความบกพร่องทางทักษะด้านต่าง ๆ ส่งผล

ให้เด็ก LD แสดงอาการผิดปกติแตกต่างกันไป ดังนี้

 

  • ความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว (Dyspraxia) คือ

ความบกพร่องของทักษะการเคลื่อนไหวและการ

ประสานงานระหว่างสมองกับอวัยวะเป้าหมาย เด็ก

อาจใช้งานช้อนส้อมหรือดินสอลำบาก ผูกเชือก

รองเท้าด้วยตนเองไม่ได้ พูดติดขัด เคลื่อนไหว

ลูกตาลำบาก ร่างกายไวต่อแสง การสัมผัส รส

ชาด หรือกลิ่น เป็นต้น

 

  • ความบกพร่องด้านการคำนวน (Dyscalculia) คือความ

บกพร่องของทักษะทางคณิตศาสตร์ เด็กอาจจดจำตัว

เลข ตารางสูตรคูณ นับเลข หรือแก้โจทย์ปัญหาพื้นฐาน

ทางคณิตศาสตร์ได้ช้าหรือทำไม่ได้เลย

 

  • ความบกพร่องด้านการเขียน (Dysgraphia) อาจมีปัญ

หาด้านการเขียนหนังสือ การสะกดคำ และไม่สามารถ

คิดและเขียนไปพร้อมกันได้

 

  • ความบกพร่องด้านการใช้ภาษา (Dyslexia) คือความ

บกพร่องของทักษะการตีความภาษา ส่งผลให้มีปัญหา

ในการอ่านหรือการเขียน เด็กอาจอ่านหนังสือไม่ได้หรือ

อ่านได้ช้า จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ หรือไม่สามารถ

สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านการเขียนหรือการพูด

 

  • ความบกพร่องด้านการฟัง เด็กได้ยินเสียงเป็นปกติแต่
    ไม่สามารถตีความได้ ส่งผลให้อาจมีปัญหาในการอ่าน

แยกแยะเสียงไม่ได้ จดจำคำพูดไม่ได้ หรือไม่ปฏิบัติ

ตามสิ่งที่ได้ยิน

 

  • ความบกพร่องด้านการมองเห็น เด็กอาจขาดทักษะใน

การตีความข้อมูลภาพ ทำให้แยกแยะความแตกต่างระ

หว่างสิ่งของ 2 สิ่งไม่ได้หรือทำได้ช้า หรือตากับมือ

เคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิดที่พบว่าบุตรหลาน

มีสัญญาณของ ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ต่อไปนี้ ควร

พาไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยทันที


  • มีปัญหาในการจดจำข้อมูล การอ่าน การเขียน การคำนวณ และทำการบ้านเองไม่ได้ ผู้ปกครองต้องช่วยทำทุกครั้ง

 

  • เข้าใจความคิดที่เป็นนามธรรมได้ยาก

  • ไม่ใส่ใจรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ทว่าบาง

รายอาจช่างสังเกตและให้ความสนใจต่อสิ่งต่าง ๆ

มากเกินไปได้เช่นกัน

 

  • ขาดทักษะการเข้าสังคม

  • ไม่เข้าใจและไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำหรือคำสั่งสอน
  • อวัยวะต่าง ๆ เคลื่อนไหวไม่ประสานงานกัน ทำให้

อาจมีปัญหาในการเดิน เล่นกีฬา จับดินสอ หรือใช้

ช้อนส้อม


  • ไม่เข้าใจแบบแผนของเวลา
  • ทำของใช้ส่วนตัวหายเป็นประจำ
  • แสดงพฤติกรรมต่อต้านหรือมีอารมณ์ก้าวร้าวที่โรง

เรียน

 

  • ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่ยอมทำการบ้านหรือกิจกรรม

ที่ต้องใช้ทักษะบางประการ เช่น การอ่าน การเขียน

การคำนวณ เป็นต้น


สาเหตุของความบกพร่องทางการเรียนรู้

กลุ่มอาการ บกพร่องทางการเรียนรู้ แบ่งเป็นหลายชนิด
ตามความบกพร่องทางทักษะด้านต่าง ๆ ส่งผลให้เด็ก
LD แสดงอาการผิดปกติแตกต่างกันไป ดังนี้

  • ความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว (Dyspraxia)
คือ ความบกพร่องของทักษะการเคลื่อนไหวและ
การประสานงานระหว่างสมองกับอวัยวะเป้าหมาย
เด็กอาจใช้งานช้อนส้อมหรือดินสอลำบาก ผูก
เชือกรองเท้าด้วยตนเองไม่ได้ พูดติดขัด เคลื่อน
ไหวลูกตาลำบาก ร่างกายไวต่อแสง การสัมผัส รส
ชาด หรือกลิ่น เป็นต้น

  • ความบกพร่องด้านการคำนวน (Dyscalculia)
คือความบกพร่องของทักษะทางคณิตศาสตร์ เด็ก
อาจจดจำตัวเลข ตารางสูตรคูณ นับเลข หรือแก้
โจทย์ปัญหาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้ช้าหรือทำ
ไม่ได้เลย

  • ความบกพร่องด้านการเขียน (Dysgraphia) อาจมี
ปัญหาด้านการเขียนหนังสือ การสะกดคำ และไม่
สามารถคิดและเขียนไปพร้อมกันได้

  • ความบกพร่องด้านการใช้ภาษา (Dyslexia) คือความบก
พร่องของทักษะการตีความภาษา ส่งผลให้มีปัญหาในการ
อ่านหรือการเขียน เด็กอาจอ่านหนังสือไม่ได้หรือ อ่านได้
ช้า จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ หรือไม่สามารถสื่อสารให้
ผู้อื่นเข้าใจผ่านการเขียนหรือการพูด

  • ความบกพร่องด้านการฟัง เด็กได้ยินเสียงเป็นปกติแต่ไม่
สามารถตีความได้ ส่งผลให้อาจมีปัญหาในการอ่าน แยก
แยะเสียงไม่ได้ จดจำคำพูดไม่ได้ หรือไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่
ได้ยิน

  • ความบกพร่องด้านการมองเห็น เด็กอาจขาดทักษะใน
การตีความข้อมูลภาพ ทำให้แยกแยะความแตกต่างระ
หว่างสิ่งของ 2 สิ่งไม่ได้หรือทำได้ช้า หรือตากับมือ
เคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิดที่พบว่าบุตรหลานมี
สัญญาณของ ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ต่อไปนี้ ควรพา
ไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยทันที

  • มีปัญหาในการจดจำข้อมูล การอ่าน การเขียน การ
คำนวณ และทำการบ้านเองไม่ได้ ผู้ปกครองต้อง
ช่วยทำทุกครั้ง


  • เข้าใจความคิดที่เป็นนามธรรมได้ยาก
  • ไม่ใส่ใจรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ทว่าบาง
รายอาจช่างสังเกตและให้ความสนใจต่อสิ่งต่าง ๆ
มากเกินไปได้เช่นกัน
  • ขาดทักษะการเข้าสังคม
  • ไม่เข้าใจและไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำหรือคำสั่งสอน
  • อวัยวะต่าง ๆ เคลื่อนไหวไม่ประสานงานกัน ทำให้
อาจมีปัญหาในการเดิน เล่นกีฬา จับดินสอ หรือใช้
ช้อนส้อม

  • ไม่เข้าใจแบบแผนของเวลา
  • ทำของใช้ส่วนตัวหายเป็นประจำ
  • แสดงพฤติกรรมต่อต้านหรือมีอารมณ์ก้าวร้าวที่โรง
เรียน

  • ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่ยอมทำการบ้านหรือกิจกรรมที่
  • ต้องใช้ทักษะบางประการ เช่น การอ่าน การเขียน การ
คำนวณ เป็นต้น

ภาวะความ บกพร่องทางการเรียนรู้ ยังไม่อาจระบุสาเหตุการ
เกิดที่แน่ชัด แต่นักวิจัยเชื่อว่าอาจมีปัจจัยบางอย่างกระตุ้น
ให้เกิดความผิดปกติ ดังนี้

  • พันธุกรรม คาดว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เด็กมีความ
บกพร่องทางการเรียนรู้ ทั้งนี้ นักวิจัยบางส่วนโต้แย้งว่า
เด็ก LD อาจไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
แต่เกิดจากการเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่


  • พัฒนาการสมอง บางทฤษฎีกล่าวว่าเด็กที่มีพัฒนาการ
สมองผิดปกติ เช่น เด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่ามาตร
ฐาน คลอดก่อนกำหนด สมองขาดออกซิเจน หรือได้รับ
อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง อาจมีแนวโน้มเกิดภาวะ
บกพร่องทางการเรียนรู้มากกว่าเด็กทั่วไป


  • สิ่งแวดล้อม การสูดดมหรือสัมผัสสารพิษจากสิ่งแวดล้อม
เป็นประจำ เช่น สารตะกั่ว รวมถึงโภชนาการที่ไม่ดีตั้งแต่
เด็ก อาจส่งผลให้เกิดความพร่องทางการเรียนรู้

การวินิจฉัยเด็ก LD
พ่อแม่หรือคนใกล้ชิดมักพบสัญญาณของความ บกพร่อง
ทางการเรียนรู้ เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่วัยเรียน หากคาดว่าเด็กมี
ความผิดปกติควรพาไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะตรวจดูประ
วัติการเรียนและพัฒนาการด้านการเรียนรู้แต่ละด้าน ผลสัม
ฤทธิ์ทางการเรียน รายงานจากครูประจำชั้น และตรวจวัด
ระดับสติปัญญาเพื่อประกอบการวินิจฉัย รวมทั้งตรวจหา
ความบกพร่องของ กระบวนการฟัง และ กระบวนการมอง
เห็น จากนั้นอาจให้นักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
วินิจฉัยโดยใช้การทดสอบเฉพาะ เช่น คู่มือทดสอบการ
ตอบสนองต่อการให้ความช่วยเหลือ (Response To Inter
vention: RTI) ซึ่งเป็นการเฝ้าดูพัฒนาการด้านการเรียนรู้
ของเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อระบุชนิดของความผิดปกติและ
เสนอแนวทางการรักษาที่เหมาะสม


การรักษาเด็ก LD
ปัจจุบัน ไม่มีวิธีรักษา ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ให้หาย
ขาด แต่เทคนิคการสอนที่เหมาะสมกับเด็ก LD ความเอาใจ
ใส่จากพ่อแม่และคนใกล้ชิด รวมถึงการใช้ยาและการเยียว
ยาตามคำแนะนำของแพทย์อาจช่วยบรรเทาอาการผิดปกติ
และพัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้ได้ การรักษาเด็ก LD
แบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • การศึกษา แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualiz
ed Education Plan: IEP) คือเทคนิคการสอนและ
การใช้สื่อการสอนที่เน้นพัฒนาทักษะด้านที่บกพร่อง
ของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การนำหนังสือเสียงมาใช้กับ
เด็กที่ขาดทักษะทางการอ่าน การจัดกิจกรรมการสอน
ที่สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก เป็นต้น

  • ครอบครัว ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของเด็ก LD ว่า
บุตรหลานบกพร่องทักษะชนิดใดและมีอาการผิดปกติ
อย่างไร เพื่อให้การดูแลได้อย่างเหมาะสม รวมถึงส่ง
เสริมให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เช่น กระตุ้น
ให้ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
และนอนหลับให้เพียงพอ นอกจากนั้น คนในครอบ
ครัวควรสนับสนุนให้เด็กมีความภูมิใจและมั่นใจในตน
เอง หมั่นชื่นชมเมื่อเด็กทำได้ดีแม้เรื่องเล็กน้อย
เปลี่ยนจากการตำหนิหรือลงโทษเป็นการอธิบายให้
เข้าใจถึงผลเสียของการกระทำที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้ง
คอยสังเกตว่าเด็กมีภาวะซึมเศร้าจากความรู้สึกแปลก
แยกหรือไม่มั่นใจในตนเองหรือไม่

  • การแพทย์ แพทย์อาจแนะนำให้เด็ก LD บางรายรับ
ประทานยาช่วยเพิ่มสมาธิ ทำให้เด็กจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
อยู่ได้นานขึ้น รวมถึงแนะนำยาแก้โรคซึมเศร้าให้เด็ก
ที่มีภาวะ ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล

  • การรักษาแพทย์ทางเลือก มีงานวิจัยอ้างว่าการบำบัด
ด้วย ดนตรี อาจช่วยรักษาความบกพร่องทางการเรียน
รู้ได้เช่นกัน

ภาวะแทรกซ้อนของความ
บกพร่องทางการเรียนรู้

เด็ก LD บางรายอาจแสดงพฤติกรรมทางลบหรือมีแนวโน้ม
ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง อีกทั้งการดูแลเด็กที่มีภาวะนี้
อาจส่งผลกระทบต่อครอบครัวหรือคนใกล้ตัว มีรายละเอียด
ดังนี้

  • เด็กแสดงความอยากรู้อยากเห็นทางด้านร่างกาย ทำ
ให้ผู้อื่นอาจมองว่าเด็กฝักใฝ่เรื่องเพศ
  • มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การสำเร็จ
ความใคร่ในที่สาธารณะ
  • ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง เช่น โดนรังแก โดนล้อ
เลียน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งอาจส่งผลให้มีปัญหา
ทางสุขภาพจิต เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือ
  • ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
  • ครอบครัวหรือคนใกล้ตัวที่เป็นผู้ดูแลเด็ก LD อาจเกิด
ความเครียด ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพ
จิต รวมทั้งอาจมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างคน
ในครอบครัวหรือเครือญาติ

การป้องกันความบกพร่องทางการเรียนรู้


ความ บกพร่องทางการเรียนรู้ ในเด็กอาจป้องกันได้ตั้งแต่ลูก
น้อยอยู่ในครรภ์มารดา หากรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์
ให้เร็วที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติระ
หว่างตั้งครรภ์ นอกจากนั้น การให้การดูแลเอาใจใส่อย่าง
เหมาะสมตั้งแต่ช่วงวัยทารกและวัยเด็กตอนต้นก็เป็นอีกวิธีที่
อาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้สมบูรณ์




รู้ทัน!!  กลยุทธรับมือ



โรค LD (บกพร่องการเรียนรู้) 





และการได้รับ สารอาหารสำหรับสมอง ที่ถูกต้อง จะช่วยส่งเสริม
พัฒนาการสมองเจ้าตัวเล็กได้เป็นอย่างดี เสริมสร้างเซลสมอง

ด้วยสารอาหารจากธรรมชาติ! ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม "คลิก"

ที่รูปด้านล่างนี้เลยนะคะ



ปรึกษาป้องกันด้วยโภชนาการจากธรรมชาติ ที่ออกแบบมาเพื่อ
สุขภาพสมองโดยเฉพาะ เชิญติดต่อที่ไลน์ด้านล่างได้เลยค่ะ




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ต้อกระจก (Cataract) อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคต้อกระจก

รู้จักโรค "สมาธิสั้น!" ปล่อยไว้ยิ่งแย่.. ดูแลอย่างถูกวิธีดีกว่า...

" อเลอไทด์ " อาหารสมอง..เพื่อวัยเรียนรู้