รู้จักโรค "สมาธิสั้น!" ปล่อยไว้ยิ่งแย่.. ดูแลอย่างถูกวิธีดีกว่า...

รู้จักโรค "สมาธิสั้น!"

ปล่อยไว้ยิ่งแย่.. ดูแลอย่างถูกวิธีดีกว่า...


พัฒนาการของเจ้าตัวเล็กบางครั้งอาจบ่งบอกความผิดปกติได้
ขอเพียงพ่อแม่ผู้ปกครองหมั่นสังเกตและอย่าปล่อยผ่าน เมื่อ
เกิดความสงสัย โดยเฉพาะ โรคสมาธิสั้น (ADHD-Attention
Deficit Hyperactivity Disorder) ที่จากผลสำรวจล่าสุดของ
กรมสุขภาพจิตในปี 2559 พบว่า เด็กอายุ 6 - 15 ปีทั่วประเทศ
เป็นโรคนี้ถึงประมาณ 420,000 คน พบในเด็กผู้ชายมากกว่าผู้
หญิง 4 - 6 เท่า และในห้องเรียนที่มีจำนวนเด็กเฉลี่ย 40 - 50
คนพบเด็กที่เป็นโรคนี้แล้ว 2 - 3 คน ดังนั้นหากรู้เท่าทันและ
รักษาได้ทันท่วงทีย่อม ช่วยให้อาการของเจ้าตัวเล็กดีขึ้นและ
เติบโตได้อย่างมีความสุข

รู้จักโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น (ADHD-Attention Deficit Hyperactivity
Disorder) คือ ภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่ส่งผลให้มีสมาธิสั้น
กว่าปกติ ขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้มีลักษณะอา
การซุกซน วอกแวกง่าย ไม่เคยอยู่นิ่ง เวลาที่พูดด้วยจะไม่ตั้ง
ใจฟังและเก็บรายละเอียดไม่ค่อยได้ ขาดความรับผิดชอบ
พบได้ค่อนข้างบ่อยในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3 - 7 ปี แต่ใน
รายที่เป็นไม่มาก อาการจะแสดงออกชัดเจนกว่าในช่วงหลัง
7 ขวบขึ้นไป เพราะเป็นช่วงที่ต้องเข้าโรงเรียนมีงาน และการ
บ้านต้องรับผิดชอบหลาย ๆ ชิ้นในเวลาเดียวกัน มีปฏิสัมพันธ์
กับเพื่อนและคุณครู รวมไปถึงการที่จะต้องรู้จักปรับตัวในการ
ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นและการเข้าสังคม โดยสาเหตุแท้จริง
นั้นไม่สามารถทราบได้ชัดเจน แต่หนึ่งในนั้นคือการที่สมอง
ส่วนหน้าซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิและการ
ยับยั้งชั่งใจทำงานน้อยกว่าปกติ


อาการเด็กสมาธิสั้น

การจะรู้ว่าเจ้าตัวเล็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ นอกจากต้องสัง
เกตจากลักษณะอาการที่ปรากฏแล้ว ยังจำเป็นจะต้องพิจาร
ณาจากระยะเวลาที่เป็น และสถานที่ที่เด็กมีอาการกล่าวคือ

1. อาจมี (A) หรือ (B)

(A)

หากเด็กมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ต้องมี 6 ข้อ (หรือมากกว่า)

ของอาการขาดสมาธิติดต่อกันเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน

โดยที่อาการต้องถึงระดับที่ผิดปกติและไม่เป็นไปตามพัฒนา

การตามวัยของเด็ก ได้แก่ อาการขาดสมาธิ (Inattention) คือ

       - มักไม่สามารถจดจ่อกับรายละเอียดหรือไม่รอบคอบเวลา

      ทำงานที่โรงเรียนหรือทำกิจกรรมอื่น

    - มักไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น

    - มักดูเหมือนไม่ได้ฟันสิ่งที่คนอื่นพูดกับตนอยู่

    - มักทำตามคำสั่งได้ไม่ครบ ทำให้ทำงานในห้องเรียน

      งานบ้าน หรืองานในที่

   - ทำงานไม่เสร็จ (โดยไม่ใช่เพราะต่อต้าน หรือไม่เข้าใจ)

    - มักมีปัญหาในการจัดระบบงานหรือกิจกรรม ทำงาน

      ไม่เป็นระเบียบ)

    - มักเลี่ยงไม่ชอบหรือไม่เต็มใจในการทำงานที่ต้องใช้

      ความคิด (เช่น การทำการบ้านหรือทำงานที่โรงเรียน

    - มักทำของที่จำเป็นในการเรียนหรือการทำกิจกรรม

      หายบ่อยๆ (เช่น อุปกรณ์การเรียน)

    - มักวอกแวกไปสนใจสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย

    - มักหลงลืมทำกิจวัตรที่ต้องทำเป็นประจำ

(B)
ต้องมี 6 ข้อ (หรือมากกว่า) ของอาการอยู่ไม่นิ่ง-หุนหันพลัน
แล่น นานติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน โดยที่อาการต้องถึง
ระดับที่ผิดปกติและไม่เป็นไปตามพัฒนาการตามวัยของเด็ก
ได้แก่
    - อาการอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)
    - หยุกหยิก อยู่ไม่สุข ชอบขยับมือและเท้าไปมา หรือ
      นั่งนิ่ง ๆ ไม่ได้
    - มักลุกจากที่นั่งในห้องเรียนหรือในสถานการณ์อื่นที่
      เด็กจำเป็นต้องนั่งอยู่กับที่
    - มักวิ่งไปมาหรือปีนป่ายสิ่งต่าง ๆ ในที่ ๆ ไม่สมควร
      กระทำ
    - ไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมอย่างเงียบ ๆ ได้
    - มัก “พร้อมที่จะวิ่งไป” หรือทำเหมือนเครื่องยนต์ที่เดิน
      เครื่องอยู่ตลอดเวลา
    - มักพูดมากพูดไม่หยุด
    - อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)
    - มักโพล่งคำตอบโดยที่ฟังคำถามไม่จบ
    - มักไม่ชอบการเข้าคิวหรือการรอคอย
    - มักขัดจังหวะหรือสอดแทรกผู้อื่น (ระหว่างการสนทนา
      หรือการเล่น)

2. เริ่มพบอาการเหล่านี้ตั้งแต่ก่อนอายุ 7 ขวบ

3. พบความบกพร่องที่เกิดจากอาการเหล่านี้ในสถาน
  การณ์อย่างน้อย 2แห่ง เช่น  ที่บ้านหรือที่โรงเรียน

4. อาการต้องมีความรุนแรงจนกระทั่งรบกวนการเรียน
  การเข้าสังคม หรือการทำงานอย่างชัดเจน


สัญญาณเตือนรีบรักษา

หากเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น มีเพียง 15 - 20% เท่านั้นที่สามารถ
หายได้เองเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่อีกประมาณ 60% นั้นไม่หาย
ขาดและจะเป็นโรคนี้ไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นการสัง
เกตและรู้เท่าทันสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาที่ต้องเข้ารับการรัก
ษาคือสิ่งสำคัญ ได้แก่


     - ผลการเรียนตกต่ำลง ถ้ามีอาการมากมักพบได้ตั้งแต่
       ในช่วงที่เด็กเรียน

     - ป.1-ป.2และผลการเรียนจะยิ่งตกมากขึ้นในช่วง ป.4 

   แต่ในกรณีที่เด็กมีไอคิว (IQ - Intelligence Quo

   tient) ความสามารถทางเชาวน์ปัญญาสูงอาจไม่ส่ง

   ผลกระทบต่อผลการเรียนมากเท่าไรนัก และอาจเริ่ม

   สังเกตเห็นอาการในช่วงมัธยม แต่ในเด็กที่เป็นทั้ง

     โรคสมาธิสั้นและโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD -

     Learning Disorder) ควบคู่กัน จะส่งผลต่อผลการ

     เรียนค่อนข้างมากคือ คะแนนคาบเส้นหรือหวุดหวิด

     เกือบสอบตกคุณครูมีการรายงานพฤติกรรมความผิด
     ปกติของ

     - พ่อแม่ผู้ปกครองเริ่มสงสัยและเห็นความผิดปกติของ



       เด็กชัดเจนมากขึ้น

     - เด็กหรือเพื่อนที่เด็กเล่นด้วยมีอาการบาดเจ็บ เนื่องจาก



เล่นรุนแรงและผาดโผนมากเกินไป


     - เด็กเริ่มแยกตัวออกจากกลุ่ม อยู่โดดเดี่ยวคนเดียว 
       ไม่ชอบสื่อสารและเข้าสังคม (ถูกเพื่อนปฏิเสธหรือ
       รังแก)

วิธีรักษาแก้โรค

ปัจจุบันวิธีรักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD - Attention Deficit
Hyperactive Disorder) มี 4 วิธี ได้แก่

1. ปรับพฤติกรรมและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ซึ่งจะได้ผลดีมาก
ในเด็กที่ยังเป็นไม่มากและ ยอมเต็มใจที่จะเข้ารับการฝึกเพื่อ
ให้อยู่นิ่ง

2. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง โดยแพทย์จะเลือกชนิดยา
ที่เหมาะกับอาการและวัยของเด็ก เช่น Methylphenidate
ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้หลั่งสารสื่อประสาทเพิ่ม
มากขึ้น ซึ่งการรับประทานทานยานั้นให้ผลในการรักษาที่ดีได้
ถึง 70 - 80%โดยประมาณ และเด็กจะมีอาการดีขึ้นหลังจาก
รับประทานยาไปแล้วภายใน 1 - 4สัปดาห์

3. เรียนแบบตัวต่อตัว เพื่อช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ดี
ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ร่วม
ด้วยนั้นจะเรียนไม่ทันเพื่อน พ่อแม่ผู้ปกครองควรหาวิธีพัฒนา
การเรียนของเด็กอย่างเหมาะสม

4. ปรึกษาแพทย์ต่อเนื่อง เพื่อทำความเข้าใจและขอคำแนะนำ
เกี่ยวกับเทคนิคการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง การสื่อสารกันระหว่าง
แพทย์ ครู และผู้ปกครอง เพื่อลดความเข้าใจผิด เกี่ยวกับพฤติ
กรรมของเด็กที่อาจเกิดขึ้นได้

รู้จักโรค "สมาธิสั้น!"

ปล่อยไว้ยิ่งแย่.. ดูแลอย่างถูกวิธีดีกว่า...


และการได้รับสารอาหารสำหรับสมองที่ถูกต้อง จะช่วยส่งเสริม
พัฒนาการสมองเจ้าตัวเล็กได้เป็นอย่างดี เสริมสร้างเซลสมอง
ด้วยสารอาหารจากธรรมชาติ! ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม "คลิก"
ที่รูปด้านล่างนี้เลยนะคะ



ปรึกษาป้องกันด้วยโภชนาการจากธรรมชาติ ที่ออกแบบมาเพื่อ
สุขภาพสมองโดยเฉพาะ เชิญติดต่อที่ไลน์ด้านล่างได้เลยค่ะ






ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ต้อกระจก (Cataract) อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคต้อกระจก

" อเลอไทด์ " อาหารสมอง..เพื่อวัยเรียนรู้